ทะเบียนบ้าน คืออะไร มีกี่ประเภท สามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง

สำหรับคนที่มีบ้าน สิ่งหนึ่งที่คุณต้องใส่ใจ นั่นคือ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบ้านของคุณ เพราะหลายครั้ง เวลาที่ทำธุระ การงานต่าง ๆ ต้องใช้เอกสารอ้างอิง นั่นคือ ทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี สำหรับใครที่มีบ้าน คุณจะต้องเรียนรู้ในเรื่องนี้ด้วย เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ทะเบียนบ้าน คืออะไร

ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านของแต่ละบ้าน ที่มีการแสดงรหัสประจำบ้าน และ รายชื่อคนที่อยู่ในบ้านนั้น โดยจะบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และ ผู้อยู่อาศัย ในรายละเอียดของบุคคลจะมีบอกชื่อ พ่อ แม่ เลขประจำตัวประชาชน เกิดเมื่อไร เป็นเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัย แจ้งย้ายเมื่อไร เป็นต้น โดย ทะเบียนบ้าน นั้นมีหลายประเภทมาก คุณจะต้องเรียนรู้ลักษณะต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อให้เข้าใจมากที่สุด

ประเภทของ ทะเบียนบ้าน มีอะไรบ้าง

ทะเบียนบ้าน มีหลายประเภท แต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันไป คุณจะต้องศึกษาในส่วนนี้ให้ดี เพื่อให้คุณเข้าใจมากที่สุด

-ทะเบียนบ้าน แบบ ทร.14 ใช้สำหรับคนที่มีสัญชาติไทย และ คนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัว

-ทะเบียนบ้าน แบบ ทร. 13 ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือ คนที่เข้ามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

-ทะเบียนบ้านกลาง เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น เพื่อลงรายชื่อของคนที่ไม่สามารถมีชื่อในทะเบียนบ้านได้

-ทะเบียนบ้านชั่วคราว ออกให้กับบ้านที่สร้างในที่สาธารณะ หรือ การบุกรุกป่าสงวนโดยที่ไมได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร แต่สามารถใช้เป็นเอกสารราชการได้ และ ผู้ที่มีชื่อในทะเบียนนี้สามารถใช้สิทธิ์ได้เหมือนที่อยู่ในทะเบียนบ้านทั่วไป

ทะเบียนบ้านชั่วคราวของงสำนักทะเบียน ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดไว้ให้ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของคนที่ขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ

นี่คือ ประเภทของ ทะเบียนบ้าน ที่คุณควรทำความเข้าใจ เพื่อให้คุณเรียนรู้ในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ต่อไป เรามาดูกันว่ามีเอกสารอะไรที่ใช้ในการขอทะเบียนบ้าน

เอกสารที่ใช้ในการขอทะเบียนบ้าน

  1. เอกสาร ทร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน/อบต.)
  2. ใบอนุญาตก่อสร้างหรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน
  3. โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดิน
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  5. หนังสือมอบอำนาจ ถ้าเจ้าของบ้านไม่สามารถมาติดต่อขอทะเบียนบ้านด้วยตนเอง ได้มอบหมายให้ผู้อื่นมาติดต่อแทน สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ กรณีรับมอบอำนาจ จะมีบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน และ เซ็นสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ในเอกสารมอบอำนาจจะต้องมีพยานบุคคล 2 คน ลงชื่อรับทราบด้วย
  6. รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน

นี่คือ เอกสารในการมี ทะเบียนบ้าน ต่อมาเราจะมาดูขั้นตอนการยื่นขอกัน เพื่อให้คุณปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้าน

ให้คุณจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยที่ สำนักทะเบียนในพื้นที่ปลูกสร้าง หลังจากนั้นให้นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจะออกเลขประจำบ้าน และ ทำสมุดทะเบียนบ้าน และ สำเนาทะเบียนบ้าน สุดท้ายคือ การส่งมอบ ทะเบียนบ้านให้กับเจ้าของบ้าน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

ระยะเวลาในการขอทะเบียนบ้าน

หลังจากยื่นเอกสารคำร้องขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วันหลังจากสร้างบ้าน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสาร หากถูกต้องแล้วจะกำหนดเลขที่ประจำบ้านและสมุดทะเบียนบ้านให้ให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ถ้าสร้างบ้านในเขตเทศบาล แต่ถ้าสร้างนอกเขตเทศบาลจะใช้เวลา 1 เดือน เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่นานเกินไป เพราะว่าจะต้องตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ก่อนที่จะอนุมัติการขอทะเบียนบ้าน

ทั้งหมดนี้ คือ ความหมายของ ทะเบียนบ้าน ประเภท การยื่นขอทะเบียนบ้าน ไปจนถึงระยะเวลาที่จะต้องได้รับทะเบียนบ้าน สิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้คุณทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ลดความผิดพลาดในการทำเอกสารได้ง่าย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณได้