“ทองหล่อ” Japanese HUB ของกรุงเทพ
เมื่อพูดถึงชาวญี่ปุ่น คงบอกได้เลยว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายสำคัญในแง่เศรษฐกิจในประเทศไทย เนื่องจากทุกวันนี้ มีจำนวนนักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบและบริษัทญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในประเทศไทยค่อนข้างสูง และมีอัตราแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น
ทองหล่อ จากชุมชนเล็กๆ สู่ย่านพรีเมี่ยมเบอร์ 1
และถ้าหากย้อนอดีตที่ผ่านมา “ย่านทองหล่อ หรือสุขุมวิท 55” มีบันทึกว่า ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่านทองหล่อเคยเป็นสถานที่ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านและตั้งฐานทัพ ซึ่งอาจเป็นที่มาที่ทำให้ย่านนี้มีชุมชนชาวญี่ปุ่นอยู่อาศัยเป็นเวลานาน โดยหลังจากยุคสงคราม ย่านทองหล่อ ยังเป็นพื้นที่ชานเมืองที่มีถนนสายเล็ก และมีคลองขนาบทั้งสองข้างทาง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีการขยายเพิ่มเป็นหกช่องจราจร พร้อมทั้งปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบ ซึ่ง ณ ตอนนั้นเอง ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยุ่ในย่านทองหล่อนับว่าเป็นชุมชนขนาดเล็กๆ หลากหลายชุมชนด้วยกัน
จากชุมชนชาวญี่ปุ่นขนาดเล็ก ปัจจุบัน กลายเป็นชุมชมที่ใหญ่ขึ้น และยังมีชาวต่างชาติสัญชาติอื่น ๆ ที่ทำให้ย่านทองหล่อ ก้าวเป็นหนึ่งทำเลพรีเมียมของกรุงเทพฯ โดยปัจจุบันย่านทองหล่อ เป็นย่านที่มีทั้งแหล่งรวมร้านอาหารนานาชาติ คอมมูนิตี้มอลล์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าแฟชั่น ร้านไลฟ์สไตล์เฟอร์นิเจอร์ แหล่ง Entertainment สตูดิโอแต่งงาน ร้านคลินิกความงามชื่อดัง
ซึ่งร้านค้าหลายร้านชื่อดังที่มีสาขาจำนวนมากในเวลานี้ เคยเป็นร้านแบรนด์ขนาดเล็กที่มีจุดเริ่มต้นที่ย่านทองหล่อมาก่อน จึงอาจเรียกได้ว่าทองหล่อถือเป็นแหล่งกำเนิดแหล่งแฮงค์เอาท์เลยก็ว่าได้
“ชาวญี่ปุ่น” อยู่ “ทองหล่อ” เยอะแค่ไหน
ในปัจจุบัน บริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นเข้ามาตั้งอยู่ในประเทศไทยอย่างล้นหลาม หากคิดในแง่สัดส่วนการลงทุนของบริษัทข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่นเหล่านี้คิดเป็น ครึ่งหนึ่งของเงินลงทุนต่างชาติ ด้วยเม็ดเงินกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เฉลี่ยต่อปี (ข้อมูลจาก TMB Analytics) ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ของ Expat ต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานในไทย คิดเป็น 22% จากจำนวน Expat ทั้งหมดในประเทศไทย
นี่อาจไม่ใช้เรื่องน่าแปลกใจเท่าไหร่ ถ้าเราลองมองว่ามีพนักงานญี่ปุ่นทำงานในไทยเยอะเท่าไร ให้ลองคูณ 3 เข้าไป เพราะด้วยธรรมเนียมการทำงานต่างประเทศของพนักงานญี่ปุ่นเขาสามารถพาลูก และภรรญามามาศัยอยู่ได้ด้วย ซึ่งจะมี Expat ชาวญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 100,000 คน และจัดอยู่ในกลุ่ม Management Level อีกด้วย
ขณะเดียวกัน Expat ที่เข้ามาทำงานในไทย กว่าร้อยละ 70 เข้ามาทำงานในตำแหน่งงานระดับผู้จัดการขึ้นไป และแรงงานที่ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ เช่น งานวิชาชีพ (Professionals) จากข้อมูลโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มอาชีพข้างต้นมีเงินเดือนสูงได้ถึงราว 300,000 บาท นอกจากนี้กลุ่ม Expat ชาวญี่ปุ่น ยังได้รับสวัสดิการจากนายจ้าง ด้านสาธารณสุข การศึกษา และ ด้านอื่นๆ สำหรับสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นการเอื้อต่อธุรกิจค้าปลีกและบริการในไทย
ด้านเว็บไซต์ Baania .com ได้วิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยย่านเอกมัย-ทองหล่อ พบว่า ข้อมูลประชากรย้อนหลัง 3 ปี แบ่งเป็น ชาวไทย 51% ชาวตะวันตก 26% ชาวญี่ปุ่น 13% นักท่องเที่ยว 8% และอื่น ๆ 2% หรือก็คือมีชาวญี่ปุ่นมากกว่า 13,000 คนอาศัยอยู่ในย่านทองหล่อทั้นเอง
ทำไม “ชาวญี่ปุ่น” ถึงเลือกทองหล่อ
จากสถิติจะเห็นได้ว่าประชากรชาว “ทองหล่อ” 13% เป็นชาวญี่ปุ่น ทำไมชนชาติที่พิถีพิถันในการใช้ชีวิตอย่างคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะผู้บริหารที่เข้ามาทำงานในไทยถึงเลือกที่จะอยู่ “ทองหล่อ” ? มีประเด็นด้วยกันดังนี้
- ความสะดวกสบายในการเดินทางและการใช้ชีวิต ถนนทองหล่อหรือซอยสุขุมวิท 55 เป็นเส้นทางจากถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา ขนานไปกับ ซอยเอกมัย หรือซอยสุขุมวิท 63 โดยมีซอยย่อยเชื่อมต่อทะลุถึงกันได้อย่างสะดวก ตลอดเส้นทางมีทั้งร้านอาหาร ศูนย์การค้า และร้านค้าหลายสัญชาติ โดยเฉพาะซุปเปอร์ญี่ปุ่นอย่าง “FUJI SUPER” ผู้ชำนาญด้านการค้าปลีกกว่า 40 ปีจากญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาอยู่ใกล้ทองหล่อแบบเดินถึงจากรถไฟฟ้า
- มีโรงพยาบาลคุณภาพดี อย่างสมิติเวช ซึ่งมีบริการล่ามแปลภาษาให้กับคนญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็น รพ. ที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้บริการตลอดเวลาที่อยู่ที่ทองหล่อ
- แหล่งรวมไลฟ์สไตล์ มีร้านอาหารญี่ปุ่นอย่าง Nihonmura และ J Avenue ที่สร้างมาเพื่อคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
- เป็นโซนที่มีความปลอดภัยสูง แม้คนญี่ปุ่นจะเลือกอยู่สุขุมวิทเป็นหลัก แต่ถ้าสืบข้อมูลให้ลึกจริง ๆคนญี่ปุ่นที่มีกำลังซื้อสูงจะเลือกอยู่ที่ “ทองหล่อ” และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่การลงทุนปล่อยเช่าคอนโดทองหล่อ นี้มีความน่าสนใจ เพราะมีลูกค้าเกรดเออย่างผู้บริหารชาวญี่ปุ่นอยู่
ทองหล่อ เปรียบเสมือน GINZA ของญี่ปุ่น
ถ้ากล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นคงไม่มีใครไม่รู้จักย่าน “GINZA” หรือก็คือ ชื่อของแหล่งช้อปปิ้งสุดหรูชื่อดังของญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยร้านค้าแบรนด์เนมระดับไฮเอนด์มารวมตัวกันอยู่มากมาย และห้างที่สามารถเดินทางไปได้ง่ายๆ จากสถานียูระคุโจ (Yurakucho) อย่าง ITOCiA นั้นก็มี Tokyu Hands อยู่ภายในด้วย สำหรับร้านค้าขนาดใหญ่อย่าง BIC CAMERA, UNIQLO หรือ MUJI ก็จะมีสินค้าหลากหลายครบครัน ซึ่งจะสะดวกสำหรับเวลาที่ต้องการซื้อสินค้าจำนวนมาก ในญี่ปุ่นมีคำเรียกการเดินเล่นชิลล์ๆ ในกินซ่าว่า “กินซ่าบุระ (Ginzabura)”
ถ้าเปรียบทองหล่อคือย่าน GINZA แห่งประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นการพูดเกินจริงแต่อย่างใด เพราะทองหล่อก็เต็มไปด้วยความ Hi-End ที่ได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น เพราะเนื่องจากมีแหล่งช้อปปิ้งสไตล์ญี่ปุ่นมาปักหมุดในทำเลนี้หลายแห่ง ได้แก่ ร้านดิสเคานท์สโตร์ชื่อดังจากญี่ปุ่น ดองกิโฮเต้ (Don Quijote) ก็เข้ามาปักธงเปิดสาขาแรกแบบ 24 ชั่วโมงในไทยบริเวณ ซ.ทองหล่อ 10 ในชื่อ Donki Mall ทองหล่อ และแหล่งช้อปปิ้งใหม่ล่าสุดอย่าง Ginza Thonglor บนชั้นที่ 2-3 ของโรงแรมนิกโก้ กรุงเทพฯ (ห่างจากสถานีทองหล่อประมาณ 200 เมตร) ตกแต่งคอนเซปต์ตามชื่อถนนกินซ่าซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญของญี่ปุ่น โดยจะมีทั้งร้านอาหาร, ร้านแบรนด์เนม, ร้านเสื้อผ้า, ร้านสปา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านที่ชาวญี่ปุ่นมาเปิดนั้นเอง