iot หรือ IOT คืออะไร ? ทำไมต้องรู้ ? เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า iot หรือ IOT มาบ้างไม่มากก็น้อย แต่เชื่อว่าในยุคปัจจุบัน IoT นั้นต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งเรามีคำตอบ ไปติดตามกันได้เลย
IoT คืออะไร อัปเดต ปี 2566
IoT ย่อมาจาก Internet of Things หมายถึง การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต ผ่านเครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์
ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้
แนวคิด Internet of Things
Internet of Things ถูกคิดขึ้นจาก คุณ Kevin Ashton ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง Internet of Things เนื่องจากในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G) เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา
โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก
โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น
ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง
ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย
ประโยชน์และความเสี่ยง ของ Internet of Things (IoT)
เทคโนโลยี Internet of Things มีประโยชน์ในหลายด้านทั้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยลดต้นทุน แถมยังช่วยเพิ่มผลผลิตของพนักงานหรือผู้ใช้งานได้ แม้ว่าแนวโน้มของ IoT มีแต่จะเพิ่มขึ้นด้วยประโยชน์หลายๆ อย่าง แต่ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง
เพราะผู้เชี่ยวชาญมีการรับมือทางด้านความปลอดภัยมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีก็ทำงานหนักเพื่อที่จะเข้าควบคุม โจมตีเครือข่าย หรือเรียกค่าไถ่ในช่องโหว่ที่ IoT มีอยู่ ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทาง IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไป เพื่อให้ธุรกิจและการใช้งาน IoT สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
การประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) ในชีวิตประจำวัน
1. ระบบการสั่งงานสมาร์ตโฟนด้วยเสียงเป็นระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้กับการควบคุมสมาร์ตโฟนจะเห็นได้ในมือถือแทบทุกยี่ห้อ เช่น ระบบ Voice Access ของระบบปฏิบัติการ Android ที่บริษัท Google พัฒนาขึ้นมาแทนการสั่งการสัมผัสหน้าจอ
2. ระบบไฟอัจฉริยะเป็นระบบ IoT ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสั่งการ การทำงานของระบบไฟส่องสว่างภายในบ้าน การปรับระดับแสงหรือสีไฟ รวมทั้งการตั้งเวลาเปิดปิด ทั้งจากการสั่งการด้วยเสียงและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่งงานผ่านสมาร์ตโฟน
3. ระบบควบคุมเครื่องปรับอุณหภูมิภายในบ้านเป็นระบบ IoT ที่สามารถสั่งงานเครื่องปรับอุณหภูมิได้ล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับถึงบ้าน เหมาะสำหรับเมืองไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน และทำให้เย็นได้ทันทีที่กลับบ้าน
4. ระบบสวิตช์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านเป็นระบบ IoT ซึ่งติดตั้งระบบเซนเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างตามจุดที่สำคัญของบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งาน ผ่านทางแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนทันที
5. ระบบการเตือนภัยอัจฉริยะเป็นระบบ IoT ที่จะทำการตรวจจับการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องใช้ภายในบ้าน และจะทำการเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านไปยังสมาร์ตโฟนของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ การพบควันและประกายไฟติดในบ้าน แก๊สรั่วซึม หรือน้ำล้นท่วมบ้าน
6. ระบบสตาร์ตรถและควบคุมรถแบบไร้สายเป็นระบบ IoT แบบใหม่ในธุรกิจยานยนต์ที่เริ่มมีการจำหน่ายรถยนต์ที่รองรับระบบดังกล่าวออกมาใช้จริงแล้ว เริ่มจากเปิด ปิด ล็อก รถยนต์ จากระยะไกลผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน
7. ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นระบบ IoT รักษาความปลอดภัยและทรัพย์สิน เช่น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ตโฟน และระบบเปิดปิดประตูบ้าน รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ที่สั่งเปิดปิดผ่านสมาร์ตโฟน และการตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ตโฟน
ถ้าอยากเปลี่ยนห้อง หรือ คอนโดธรรมดาเป็น Smart Condo หรือ Smart Home อ่านต่อได้ที่นี่ คลิก