กรมที่ดิน กับ คำแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อ และ ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินมีอะไรบ้าง
กรมที่ดิน มีทั้งส่วนกลาง ส่วนภาค และ บางครั้งก็มีของสาขาด้วย ทำให้คุณได้รับความสะดวกสบายอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม การที่คุณจะไปติดต่อทำธุระต่าง ๆ คุณจะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้พร้อมที่สุด รวมถึงต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินต่าง ๆ ด้วย เพราะทุกอย่างมีค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นใครอยากไปติดต่อเรื่องที่ดินกับสำนักงานที่ดิน สังกัด กรมที่ดิน คุณจึงต้องทำความเข้าใจไว้ด้วย
กรมที่ดิน กับ ข้อแนะนำเบื้องต้นในการไปติดต่อสำนักงานที่ดิน
ก่อนที่คุณไปสำนักงานที่ดิน สังกัด กรมที่ดิน คุณต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม โดยคุณจะต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีว่าต้องใช้อะไรบ้าง เพื่อให้ไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับมาเอาเอกสารอีก เพราะในแต่ละครั้งที่ไป สำนักงานที่ดินมักมีผู้เข้ามาติดต่อจำนวนมาก คุณอาจเสียเวลาเป็นวัน ๆ เพื่อทำเอกสารหรือเดินเรื่อง
คุณต้องดูว่าเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่คุณครอบครองอยู่นั้น รับผิดชอบโดยสำนักงานที่ดินที่ไหน เพื่อให้คุณไปติดต่อได้อย่างถูกต้อง
ดูว่า คุณต้องการทำธุรกรรมที่ดินประเภทไหน ให้เตรียมค่าใช้จ่ายไปให้ครบ เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงการบริการได้รวดเร็ว และ ทุกครั้งที่คุณต้องใช้จ่าย เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน
หากคุณเข้าไปในสำนักงานที่ดิน กรมที่ดิน ให้คุณติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ก่อน เพื่อขอคำแนะนำ ตรวจสอบเอกสารรับบัตรคิว การให้บริการจะเป็นไปตามลำดับคิว
เมื่อทำธุรกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารสิทธิ์ให้ถูกต้อง ว่า คุณเตรียมมาครบถ้วนแล้วหรือไม่
ส่วนระยะเวลาดำเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตามประกาศของที่ดินนั่นเอง ขอให้คุณศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว
การโอนที่ดินของ กรมที่ดิน ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ปกติแล้ว ผู้ซื้อและผู้ชาย จะมีการตกลงกันว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ขายจะรับผิดชอบในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอน อากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ ยังมีในส่วนค่าจดจำนองด้วย สำหรับค่าธรรมเนียมการโอนที่ต้องชำระให้ กรมที่ดิน มีอยู่ 5 ส่วน คือ
ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินของ กรมที่ดิน จะคิดเป็น 2% ของราคาประเมิน เช่น ประเมินที่ดินได้ 2 ล้าน ค่าธรรมเนียมที่จะต้องโอน คือ 4 หมื่นบาท เป็นต้น
ส่วนค่าจดจำนอง จะคิดในอัตรา 1% ของยอดจดจำนองของธนาคาร ถ้ากู้ 2 ล้าน ค่าจดจำนองจะอยู่ที่ 2 หมื่นบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีการลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองเดิม 1% เหลือแค่ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมอยู่ที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ค่าอากรแสตมป์ คิดในอัตรา 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยจะอ้างอิงจากราคาที่มีมูลค่าสูงกว่า เช่น ราคาประเมิน 2 ล้านบาท แต่ขาย 3 ล้านบาท จะชำระค่าอากรแสตมป์ 15,000 บาท ซึ่งเป็น 0.5%
ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะคำนวณจากราคาประเมิน คิดแบบขั้นบันไดภาษี จะมีการหักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ชำระในอัตรา 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยจะอ้างอิงจากราคาที่มีมูลค่าสูงกว่า ยกเว้นแต่เป็นผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์มาเกินกว่า 5 ปี หรือว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมาเกิน 1 ปี จะไม่ต้องจ่ายส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายในส่วนของอากรแสตมป์แทน
ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินอื่น ๆ จะค่าใช้จ่ายสำหรับเอกสารเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ที่ใช้ในการโอนที่ดิน ได้แก่ ค่าคำขอ 5 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท และค่าพยาน 20 บาท เป็นต้น
นี่คือ ค่าธรรมเนียมที่ดินของ กรมที่ดิน ที่คุณจะต้องเตรียมเงินไปให้ครบถ้วน เพื่อให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการหาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อีก
ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ก่อนที่จะเข้าไปในสำนักงานที่ดี กรมที่ดิน เพื่อให้การทำธุรกรรมของคุณเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกความต้องการให้คุณได้ อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณได้สอบถามรายละเอียดให้ครบถ้วนเสียก่อน หากมีข้อสงสัยให้สอบถามเจ้าหน้าที่ และ อย่าลืมเตรียมเงินในการทำธุรกรรมให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเบิกเงินอีก เพราะฉะนั้น เรื่องการติดต่อ สำนักงานที่ดิน กรมที่ดิน จึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากต่อไป เพราะมีขั้นตอนบอกไว้หมดแล้ว