ทำความเข้าใจ ‘ค่าส่วนกลางคอนโด’ จ่ายไปเพื่ออะไร

สังคมปัจจุบันหลายคนมักนิยมซื้อคอนโดหรือห้องชุดกัน หลังจากที่ทำสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว ทางนิติบุคคลของคอนโดจะมีการเรียกเก็บเงินอีกก้อนหนึ่งที่มีชื่อว่า ค่าส่วนกลางคอนโด ซึ่งหลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเงินจำนวนหลายหมื่นบาทนี้ จ่ายไปเพื่ออะไร คอนโดนำไปใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้หายสงสัยกัน

ค่าส่วนกลางคืออะไร

ค่าส่วนกลาง หรือในภาษาออังกฤษจะเรียกว่า Maintenance Fee คือ ค่าใช้จ่ายที่นิติบุคคลของโครงการที่พักอาศัยนั้น จะเรียกเก็บจากลูกบ้าน ในลักษณะดังนี้

  1. จัดเก็บค่าส่วนกลางจากลูกบ้านทุกคน ต่อให้จะอยู่อาศัยหรือไม่อยู่อาศัยก็ตาม รวมถึงไม่ว่าจะใช้สิ่งอำนวยความสะดวกหรือไม่
  2. จัดเก็บโดยคิดจากขนาดพื้นที่ของห้องชุด เข่น ค่าส่วนกลางคอนโด อัตราที่ 50 บาท/ตารางเมตร/เดือน และห้องชุดมีขนาด 30 ตารางเมตร นั่นหมายความว่าลูกบ้านต้องจ่ายค่าส่วนกลางเป็นราคา 1,200 บาท/เดือน
  3. จัดเก็บล่วงหน้าเป็นรายปี โดยให้ลูกบ้านทำการชำระค่าส่วนกลางล่วงหน้า 1-2 ปี

โดยทั้งหมดนี้ยิ่งโครงการมีพื้นที่ส่วนกลางที่คอยอำนวยความสะดวกมากเท่าไหร่ ค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายจะยิ่งสูงขึ้นตามพื้นที่ส่วนกลางที่มากขึ้นเท่านั้น

จ่ายค่าส่วนกลางคอนโดแล้วได้อะไรบ้าง

แน่นอนว่าหากลูกบ้านมีการจ่ายค่าส่วนกลางของคอนโดแล้ว จะสามารถมีสิทธิใช้ประโยชน์และสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างของโดได้ ไม่ว่าจะเป็นฟิตเนส สระว่ายน้ำ ห้องสมุด หรือ บริเวณล็อบบี้เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าโครงการที่อยู่มีสิ่งอำนวความสะดวกอะไรบ้าง

ค่าส่วนกลางคอนโดนำไปใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง

          เงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปกับค่าส่วนกลางคอนโดนั้น ทางนิติบุคคลจะนำไปจ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟในพื้ที่ส่วนกลาง ค่าบำรุงรักษาลิฟต์ ค่าบำรุงรักษาสระว่ายน้ำ ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ค่าแม่บ้านทำความสะอาดส่วนกลาง ค่าเก็บขยะ เป็นต้น ดังนั้นลูกบ้านทุกคนสบายใจได้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้น มีการจัดสรรปันส่วนโดยนิติบุคคลอย่างเหมาะสมแน่นอน เพื่อที่ลูกบ้านจะได้อาศัยอยู่ภายในโครงการที่มีความพร้อมในทุกๆเรื่อง

หากไม่จ่ายส่วนกลางมีโทษมั้ย

หลายคนอาจคิดว่า ไม่ได้ใช้บริการส่วนกลางเลย หรือ แทบจะไม่ได้มาอยู่อาศัยที่คอนโดเลย ขอไม่จ่ายได้หรือไม่ ขอตอบตรงนี้เลยว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตรงนี้มีกฎหมายกำหนดไว้ว่า โครงการสามารถลงโทษผู้ที่ไม่จ่ายส่วนกลางได้ โดยมีบทลงโทษดังนี้

  1. หากลูกบ้านไม่ชำระค่าส่วนกลางเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 12% ต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยห้ามคิดทบต้น
  2. หากลูกบ้านไม่ชำระค่าส่วนกลางเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 20% และหากมีระบุไว้ในสัญญา นิติบุคคลอาจระงับการให้บริการบางอย่าง เช่น น้ำประปา คีย์การ์ด เป็นต้น แถมยังไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ลูกบ้านอีกด้วย
  1. ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับห้องนั้นไม่ได้ หมายความว่านำไปขายหรือโอนไม่ได้นั่นเองเพราะงั้นใครที่ซื้อคอนโดไว้เพื่อเก็งกำไรนี่ต้องระวังให้ดี

ปัจจัยของค่าส่วนกลางคอนโดนั้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

ลูกบ้านหลายท่านอาจจะสงสัยว่าภายในหนึ่งโครงการ ทำไมแต่ละยูนิตถึงมีการจ่ายค่าส่วนกลางไม่เท่ากัน ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ขนาดพื้นที่ใช้สอยของห้อง ยิ่งพื้นที่ภายในห้องมาก นั่นหมายความว่าจำนวนผู้อาศัยก็มากขึ้นไปด้วย ดังนั้นค่าส่วนกลางคอนโดมักจะคำนวณตามจำนวนตารางเมตรของพื้นที่ห้อง กล่าวง่ายๆคือ ยิ่งพื้นที่เยอะ ก็ต้องจ่ายค่าส่วนกลางมากขึ้น
  2. จำนวนยูนิตของโครงการนั้นๆ ในความเป็นจริงแล้วยิ่งคอนโดเป็นประเภท Low-rise นั่นหมายความว่าจำนวนชั้นน้อย จำนวนผู้อาศัยก็น้อยตามไปด้วย จำนวนคนช่วยหารจึงน้อยกว่าดังนั้นคอนโดประเภท Low-rise จะมีค่าส่วนกลางสูงกว่าคอนโดประเภท High-rise เนื่องจากพอเป็นประเภท High-rise จำนวนผู้อาศัยมากกว่าจึงมีคนหารค่าส่วนกลางมากกว่านั่นเอง
  3. ชื่อเสียงของทางนิติบุคคล หากทางโครงการมีการเลือกใช้นิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญสูง แน่นอนว่าค่าส่วนกลางนั้นก็จะสูงตามไปด้วย เพื่อแลกกับการบริการแบบมืออาชีพ รวมถึงการจัดการดูแลพื้นที่ภายในคอนโดอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การออกแบบของโครงการ พื้นที่ส่วนกลางที่อำนวยความสะดวก หากทางโครงการมีการออกแบบโดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง หรูหรามากเท่าไหร่ ค่าส่วนกลางก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น